วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553
GIMP ใช้ทดแทน Photoshop ได้จริงหรือ
หากถามว่าจะนำซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สตัวใดที่สามารถใช้ทดแทน Photoshop ได้ ในขณะนี้คงกล่าวได้ว่า GIMP น่าจะเป็นซอฟต์แวร์ที่ดีที่สุดที่จะนำมาทดแทนได้
แต่หากต้องการนำ GIMP มาใช้ในองค์กร จะมีปัญหาอยู่ส่วนหนึ่งคือ ใช้งานยากกว่า Photoshop มาก ด้วยแนวคิดของผู้พัฒนา และการใช้งานที่แตกต่างกัน ทำให้พนักงานที่เดิมใช้ Photoshop จะเปลี่ยนมาใช้ GIMP เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากพอสมควร
ความสามารถของ GIMP ยังคงไม่เทียบเท่า Photoshop หากเป็น Graphic Disigner ที่จำเป็นต้องออกแบบงานพิมพ์เป็นประจำ ส่งงานพิมพ์ไปยังโรงพิมพ์บ่อยๆ และใช้ฟีเจอร์ของ Photoshop อย่างเต็มที่ คงยังต้องใช้ Photoshop เช่นเดิม แต่หากเป็นพนักงานทั่วไป ใช้ Photoshop เพียงตกแต่งรูป ลดขนาดภาพ ปรับสี ปรับแสงต่างๆ อันนี้สามารถเปลี่ยนมาใช้ GIMP ได้
แต่การจะนำ GIMP ให้พนักงานใช้งาน จำเป็นต้องจัดการอบรมให้กับพนักงานด้วย เพราะความแตกต่างกันอย่างมากสำหรับ GIMP และ Photoshop ถึงแม้ว่าผลลัพธ์จะทำได้เหมือนกัน แต่เมนู และวิธีการแตกต่างกันมากพอสมควร
เพราะฉะนั้นการจะนำ GIMP มาใช้ในองค์กรต้องประเมินการใช้งานของพนักงานก่อน และจัดอบรมให้กับพนักงานที่จะทำการเปลี่ยน การเปลี่ยนก็จะพบปัญหาน้อยลง
Stardict Free Dictionary ใช้ง่ายสบายงบ
จริงๆ แล้วดิกชันนารีที่อยู่บนเว็บก็สามารถแก้ปัญหานี้ได้ แต่จะยุ่งยากที่จะต่ออินเทอร์เน็ตให้กับพนักงานทุกคน และบางองค์กรมีนโยบายเรื่องจำกัดผู้ที่มีสิทธิ์ใช้อินเทอร์เน็ต วิธีนี้อาจจะเป็นการขัดกับนโยบายขององค์กร
มีงานวิจัยของเนคเทคที่เป็นดิกชันนารีตัวหนึ่งชื่อว่า Lexitron ที่เผยแพร่เป็น Freeware แต่ตัวซอฟต์แวร์ Lexitron นั้นมีปัญหาในการใช้งานอยู่บ้าง แต่ถ้าถามถึงข้อมูลดิกชันนารีของ Lexitron ถือว่าดีมาก แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร
มีซอฟต์แวร์ดิกชันนารีที่เผยแพร่เป็นโอเพนซอร์สอยู่ตัวหนึ่งชื่อว่า Stardict เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ได้ดีแต่ปัญหาของซอฟต์แวร์ตัวนี้คือไม่มีดิกที่เป็นภาษาไทย
Osdev (บริษัท โอเพนซอร์สดิเวลอปเมนต์ จำกัด) จึงได้เอาดิกชันนารีของ Lexitron กับซอฟต์แวร์คือ Stardict มารวมกัน ทำให้ Stardict ใช้ดิกภาษาไทยได้
ความสามารถของ Stardict คือมีหน้าต่างสำหรับแปลคำไทย-อังกฤษ และอังกฤษ-ไทย อีกทั้งยังมีอีกความสามารถคือเมื่อคลุมข้อความในเอกสารหรือหน้าเว็บ จะมี hint แปลคำที่คลุมไว้อีกด้วย
สำหรับผู้ที่สนใจทดลองใช้งาน สามารถดาวน์โหลดได้จาก ที่นี่ ครับ
Sumitomo Electric Industries ในญี่ปุ่นใช้ OpenOffice.org
ที่มา : www.openoffice.in.th
วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553
OOoCon2010 เฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปี OpenOffice.org
งาน OOoCon ที่ผ่านมาเป็นงานที่รวบสิ่งที่น่าสนใจอยู่มากเกี่ยวกับ OpenOffice.org มีทั้งตัวแทนจากแต่ละประเทศออกมาเล่า หรือบรรยายเกี่ยวกับ OpenOffice.org ในแต่ละประเทศ มีการบรรยายของผู้พัฒนาหลักก่อนหน้านี้คือ Sun Microsystem แต่ในวันนี้คงต้องเป็น Oracle เสียแล้ว แต่ไม่ใช่ประเด็น เพราะไม่ว่า Sun หรือ Oracle จะเป็นเจ้าของ Community ของ OpenOffice.org ก็ยังคงแข็งแกร่งเหมือนเดิม ^ ^
มีคำกล่าวจากผู้เข้าร่วมงานในปีก่อนๆ ได้กล่าวไว้ว่า "I think OOoCon2008 was a tremendous success. I enjoyed talking, discussing with people who I know just as names and/or ooo alias. I tried to listen, hear, and share the ideas, what project, community contributors, developers and project leads have, as far as posssible. I verified again here that face to face meeting is very important."
ใครอยากไปเที่ยวประเทศฮังการี ผมว่าโอกาสนี้เหมาะมาก ได้ไปเที่ยวด้วย และยังได้ไปร่วมงาน OOoCon2010 เพื่อร่วมฉลองกับ OpenOffice.org อีกด้วย แต่ใครที่ไม่ได้ไปร่วมงานที่ประเทศฮังการี Osdev มีโครงการที่จะร่วมฉลองครบรอบ 10 ปีของ OpenOffice.org ด้วย รอติดตามข้อมูลได้ที่ facebook ครับ หรือหากจะติดตามข้อมูลของ OOoCon2010 สามารถ follow twitter ได้ที่ @ooocon ครับ
ที่มา : www.openoffice.in.th
Case การใช้ Open Source Software ในโรงเรียน ประเทศฟินแลนด์
ที่มา : www.openoffice.in.th
วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553
เหตุผลในการ Revised Logo บน OpenOffice.org
ที่มา : www.openoffice.in.th
มีอะไรใหม่ใน OpenOffice.org 3.2.1
ที่มา : www.openoffice.in.th
วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553
สัดส่วนการตลาดที่เติบโตของ Brower ที่เป็น Open Source
แต่ปัจจุบันนี้ถึงแม้จำนวนโปรแกรม Browser ที่อยู่ในตลาดจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าเก่า แต่ก็มีเพียงไม่กี่ต้วที่เป็นที่นิยมในท้องตลาด แต่อย่าคิดว่า IE จะสามารถครองตลาด Browser ได้อย่างคงทนถาวรอีกต่อไป เรามาดู Market Share สำหรับตลาด Browser เพื่อเปรียบเทียบความนิยมในการใช้ Browser ของผู้ใช้กับบ้าง
ตั้งแต่ปี 2007 ส่วนแบ่งการตลาดของ IE มีถึง 79.16% โดย Firefox ได้ส่วนแบ่ง 15.84% Safari และ Opera ได้ส่วนแบ่ง 2.39% และ 1.78% ตามลำดับ
มาดูปี 2008 บ้าง IE มีส่วนแบ่ง 75.18% เป็นสัดส่วนที่ลดลง แต่ Firefox กลับกันโดยมีส่วนแบ่ง 18.76% ซึ่งเพิ่มมากขึ้น และเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 3% ส่วน Safari และ Opera มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นแต่ไม่มาก มีสัดส่วนอยู่ที่ 2.81% และ 2.01% ตามลำดับ
ความแตกต่างที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2009 IE มีส่วนแบ่งที่ลดลงอย่างต่อเนื่องคือ 66.29% ซึ่งลดลงประมาณ 9% เป็นตัวเลขที่มากพอสมควร ส่วน Firefox ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยมีสัดส่วน 23.29% มากขึ้นเกือบ 5% อัตราส่วนมากขึ้นกว่าปี 2008 Safari มีสัดส่วนที่ 3.95% Opera อยู่ที่ 2.15% ซึ่งก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
ส่วนในปีนี้ถึงแม้จะยังไม่ถึงสิ้นปี ข้อมูลปัจจุบัน IE มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 60.80% ซึ่งก็ยังลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นเดิม ส่วน Firefox อยู่ที่ 24.42% Safari 4.62% Opera 2.37%
สัดส่วนการตลาดของ IE ที่ลดลงน่าจะเกิดจาก ปัญหาที่อยู่บน IE เช่นความช้า ความไม่ปลอดภัย ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ทำให้ผู้ใช้ IE ลดลง ส่วนอัตราการเติบโตของ Firefox น่าจะเกิดจากความเร็ว ความปลอดภัย และที่สำคัญคือ Add-on ที่มีมากมายให้เลือกดาวน์โหลด ที่สำคัญคือฟรี เนื่องจากเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส แต่ด้วยความปลอดภัยนั่นเองทำให้ Firefox ไม่สามารถรันเว็บไซต์มี ActiveX ได้ และเว็บไซต์ประเภทนี้มีเยอะพอสมควร
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าตกใจคือ Google Chrome ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อปี 2008 ในปีแรกมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 0.4% ในปี 2009 อยู่ที่ 2.64% และปี 2010 อยู่ที่ 6.16% อัตราการเติบโตเกือบ 200% ทีเดียว ซึ่งเหตุผลน่าจะเกิดจากความเร็วของ Chrome ที่มีความเร็วในการเข้าถึงเว็บไซต์ที่เร็วกว่า Firefox อีกด้วย แต่ปัญหาคือภาษาไทยแสดงผลไม่สมบูรณ์บน Chrome
ไม่ว่าจะเป็น Firefox หรือ Chrome ต่างก็เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สทั้งคู่ และมีอัตราการเติบโตที่สูง และการพัฒนาของทั้ง Firefox และ Chrome มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ด้วยความเป็นโอเพนซอร์ส จึงทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
หากคุณมีความคิดที่ว่าของฟรี มักจะไม่ใช่ของที่ดี ตัวอย่างของ Firefox และ Chrome เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าของฟรี และดีมีอยู่ บางครั้งดีกว่าของที่ต้องเสียเงินซื้อเสียอีก
ข้อมูลสัดส่วนการตลาดได้จาก http://marketshare.hitslink.com
วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ข้อแตกต่างระหว่าง Open Source กับ Freeware
สำหรับผู้ที่ไม่ได้ศึกษาเรื่องไลเซนส์มาก่อน ผมจะขอเล่าเกี่ยวกับไลเซนส์สำหรับซอฟต์แวร์ให้ฟังสักเล็กน้อย ไลเซนส์ความหมายคือ สิทธิ์ที่ผู้เป็นเจ้าของสิทธิ อนุญาตให้ผู้ใช้ใช้งานได้ตามขอบเขตที่เจ้าของสิทธิ์จะอนุญาต เช่น อนุญาตให้ใช้งาน หรือเผยแพร่ รูปแบบไลเซนส์หากแบ่งย่อยจะมีหลายรูปแบบมาก แต่ผมจะแบ่งตามหลักๆ ได้ 5 ประเภท
1. Proprietary Software
2. Trialware (Shareware)
3. Freeware
4. Crackware
5. Open Source Software
1. Proprietary Software หมายถึงซอฟต์แวร์ที่วางขายตามท้องตลาด เช่น MS Windows, MS Office, Adobe Photoshop, AutoCAD ซอฟต์แวร์เหล่านี้คุณภาพสูง แต่จะคิดค่าไลเซนส์ โดยปรกติคิดราคาต่อเครื่อง ทำให้ซอฟต์แวร์ประเภทนี้มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่เป็นกลุ่มซอฟต์แวร์ที่ได้รับความนิยมที่สุด
2. Trialware (Shareware) เป็นซอฟต์แวร์ที่ให้ทดลองใช้ก่อนจะตัดสินใจซื้อ วิธีสังเกตุซอฟต์แวร์ประเภทนี้คือ จำกัดความสามารถ ใช้งานได้ตามวัน เวลาที่กำหนด หากทดลองใช้แล้วประทับใจสามารถสั่งซื้อได้ภายหลัง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ถือว่าแฟร์ เพราะให้ทดลองใช้ก่อน เพราะหากไม่ได้ทดลองใ้ช้ แต่ซื้อมาแล้วใ้ช้ไม่ได้ จะทำให้เสียดายเงินที่ซื้อมา
3. Freeware ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ใช้งานได้ฟรี แต่บางครั้งมีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น ใช้ได้เฉพาะส่วนบุคคล ห้ามใช้ในเชิงพาณิชย์ หากต้องการใช้เชิงพาณิชย์ จะมีเวอร์ชันที่ผู้พัฒนาเตรียมไว้ขาย ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ต้องระวังหากใช้ในองค์กร ควรจะศึกษาไลเซนต์ให้ดีเสียก่อน ยกตัวอย่างไลเซนส์ของ Adobe Reader โปรแกรมที่ใช้อ่านไฟล์ PDF เป็น Freeware อนุญาตให้ใช้งานได้ฟรี แต่หากไม่อ่านไลเซนส์ดีๆ จะผิดไลเซนส์ได้ง่าย เพราะ Adobe Reader ไม่อนุญาตให้ติดตั้งผ่าน Server ได้ นั่นคือ เราไม่สามารถนำตัวติดตั้งมาวางไว้บน Server ขององค์กรแล้วให้พนักงานดาวน์โหลดได้ หากทำเช่นนั้นถือว่าผิดไลเซนส์
4. Crackware เป็นประเภทที่ได้รับความนิยมมากในประเทศไทย แต่เป็นปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน นั่นคือเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ ซอฟต์แวร์ประเภทนี้หากใช้งานจะเปรียบเสมือนโจรที่ลักลอบใช้งานโดยไม่เสียเงิน ส่วนใหญ่จะนำ Proprietary Software มา Crack แล้วใช้งาน หากถูกจับในกรณีละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความผิดกฎหมายอาญา จะเสียทั้งเงิน ชื่อเสียง และเสียประวัติ
5. Open Source Software ซอฟต์แวร์ประเภทนี้จะเป็นซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้ใช้งานอย่างอิสระ ไม่ใช่ว่าไม่มีลิขสิทธิ์ โอเพนซอร์สมีลิขสิทธิ์ แต่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถใช้งาน ก๊อปปี้ เผยแพร่ หรือแก้ไขตัวซอฟต์แวร์เองได้
ความแตกต่างระหว่าง Open Source Software กับ Freeware คือ Freeware ถึงแม้จะฟรี แต่หากใช้งานจำเป็นต้องอ่าน EULA (End User License Agreement) ให้ดีเสียก่อน EULA คือข้อความอธิบายไลเซนส์ เป็นขั้นตอนหนึ่งที่พบบ่อยๆ ตอนติดตั้งซอฟต์แวร์ เราจำเป็นต้องกดยอมรับก่อนแล้วจึงจะทำการติดตั้งได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีใครยอมอ่าน :)
แต่สำหรับ Open Source Software เราสามารถมั่นใจได้ว่าจะไม่มีอะไรแอบแฝง ไม่มีข้อบังคับในการใช้งาน ทำให้ใช้งานสะดวกกว่า Freeware
ผมจึงคิดว่า Open Source Software เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้อย่างอิสระ เข้าใจง่าย เปิดเผย และไม่ต้องกลัวเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์อีกด้วย
OpenOffice.org ภายใต้ Oracle
ก่อนหน้านี้ผมค่อนข้างใจหาย เพราะไม่ค่อยมีข่าวความคืบหน้าของ OpenOffice.org หลังจากอยู่ในความดูแลของ Oracle แต่เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ก็ได้ทราบแล้วว่า Oracle เอาจริงกับ OpenOffice.org โดยมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ OpenOffice.org มากมายเกิดขึ้นในช่วงเวลาไม่นาน
สิ่งแรกที่ผมเห็นคือ หลังจากที่ OpenOffice.org 3.2 ออกมาได้สักพัก ตาม OpenOffice.org Schedule แล้ว OpenOffice.org 3.2.1 ก็เตรียมออกต่อเนื่อง แต่กลับเลื่อนกำหนดการออกไปหลายเดือน ตอนแรกทำให้ผมใจหาย แต่ไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา OpenOffice.org 3.2.1 ก็ออกตัว RC1 ออกมาให้อุ่นใจ น่าจะได้เห็น 3.2.1 ตัวเต็มออกมาในเร็วๆ นี้
หลังจากนั้นผมได้เห็นข่าวที่ว่า Oracle สร้าง Product ใหม่คือ Oracle Open Office ถ้าเปรียบเทียบกับ StarOffice แล้วไม่มีความแตกต่างกันแต่อย่างไร เนื่องจาก Oracle บอกว่าทั้ง Oracle Open Office และ StarOffice แตกต่างกันแค่เพียงชื่อ โดย Oracle Open Office เป็น Product ที่ Oracle ขาย Oracle Open Office กับ OpenOffice.org มีความแตกต่างกันอยู่ เช่น Oracle Open Office จะมี Warranty มีการอัพเดทในลักษณะแพท มี Extension ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่าง Oracle Open Office กับ MS SharePoint และ Alfresco ฯลฯ
หลังจากที่เห็น Oracle Open Office แล้วทำให้มั่นใจได้ว่า Oracle เอาจริงกับ OpenOffice.org อย่างแน่นอน เพราะข่าวที่ว่า Oracle ได้เปลี่ยน Logo และ Banner ต่างๆ ของ OpenOffice.org ใหม่แทบทั้งหมด โดย Logo จะมีชื่อของ Oracle ติดอยู่ด้วย จึงทำให้ทราบว่า Oracle ไม่ได้เอาจริงแค่ Product ที่ขายเท่านั้น ยังจริงจังกับ Communities ด้วย
OpenOffice.org ภายใต้ธงของ Oracle คงมีความแปลกใหม่ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องค่อนข้างจะแน่นอน คงต้องติดตามกันต่อไปว่าจะมีข่าวอะไรให้เราประหลาดใจ และประทับใจอีกหรือไม่
ที่มา : www.openoffice.in.th
ปิด การแสดงผลตัวอักษรซ้อนกันของ OpenOffice.org บน Windows Vista, 7
การที่จะทำให้ภาษาไทยแสดงผลได้ถูกต้องนั้น มีวิธีการง่ายๆคือ
- เปิด OpenOffice.org
- ไปที่เมนู Tools > Options > OpenOffice.org > View
- ปิดเครื่องหมายถูกหน้า Use system font for user interface
- Restart OpenOffice.org
แต่ในบางกรณี เมื่อทำตามขั้นตอนด้านบนแล้วตัวอักษรก็ยังซ้อนกันอยู่ ผมเดาว่า OOo ดันไปเลือก Font ที่ไม่มีภาษาไทยมาใช้เหมือนกับ System ดังนั้นวิธีการแก้ไขอย่างถาวรของผมคือ ให้ System ใช้ Font ที่มีภาษาไทยซะก็จบ ซึ่งทำได้โดย
ปล. วิธีการนี้จะทำให้ Font บน UI ของ Windows กลายเป็น Tahoma แทนซึ่งสำหรับผมนั้นไม่ซีเรียสอะไรครับ เน้นถูกต้องมากกว่า
ที่มา : www.openoffice.in.th